ชี้หากตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ทันส.ค.ส่งออกปีนี้จ่อติดลบหนักสุด 3.1%

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลวิเคราะห์การส่งออกไทยปี 66 ว่า หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในเดือน ส.ค. นี้ จะไม่มีผู้รับผิดชอบประเทศโดยตรงในการขับเคลื่อนส่งออกจากปัญหาภายนอกประเทศที่ส่งผลกระบอยู่ ทำให้คาดว่า การส่งออกไทยปี 66 จะมีมูลค่า 278,169-281,614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 1.9% ถึงติดลบ 3.1% หรือมีค่ากลางที่ 279,891 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 2.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัว 5.5% ถือเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 3 ปีนับจากปี 63 ที่ติดลบ 5.9% เนื่องจากไม่มีรัฐบาลเข้ามาขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ โดยตรง ส่งผลกระทบกับนโยบายการค้าต่างประเทศ รวมทั้งการเจรจาความตกลงการค้าเสรี และการบุกตลาดใหม่ๆ

ทั้งนี้คาดว่า ครึ่งปีหลัง มูลค่าจะอยู่ที่ 136,675-140,120 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 0.9% ถึงบวก 1.6% หรือมีค่ากลางที่ 138,398 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 0.3% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 65 

แต่หากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในเดือน ส.ค. นี้ คาดว่า การส่งออกจะมีมูลค่า 282,038-289,422 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 1.8% ถึงลบ 0.8% หรือมีค่ากลางที่ 283,738 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 1.2% เมื่อเทียบกับปี 65 โดยคาดว่า ครึ่งหลัง จะมีมูลค่า 140,545-147,928 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 1.9-7.2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 65 หรือมีค่ากลางที่ 142,244 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 3.1% 

“ถ้าเดือน ส.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นี้ ยังไม่ได้รัฐบาล การส่งออกไทยจะติดลบหนักถึง 2.5% ฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวเหลือ 2.5-2.9% ซึ่งในมุมมองนักลงทุนต่างชาติ การลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) จะถูกลดความเชื่อมั่นลง ประเทศไทยจะเสี่ยงกลายเป็นประเทศล้าหลังด้านเศรษฐกิจมากสุดในอาเซียน รองจากเมียนมา และกรณีเลวร้ายที่สุดคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กลายเป็นฝ่ายค้าน จะเกิดความวุ่นวายในประเทศ และต่างชาติจะสับสนกับการเมืองไทยเป็นอย่างมาก”

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก ทั้งเศรษฐกิจโลก และคู่ค้าสำคัญชะลอตัว, เศรษฐกิจจีนอาจโตไม่ถึง 5% ตามเป้าหมาย เพราะขณะนี้ การบริโภค การลงทุน และภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง, อัตราการว่างงานของประเทศคู่ค้าที่สูงขึ้น, ค่าเงินที่ผันผวนจากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ ที่ทรงตัวในระดับสูง และมีโอกาสปรับขึ้นอีก, เอลนีโญส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร และราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก

รวมถึงปัจจัยที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเช่นกัน ได้แก่ ต้นทุนการผลิตที่สูง เช่น ค่าไฟฟ้า พลังงาน และค่าจ้าง โดยไทยมีค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันดีเซล และค่าแรงสูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน, ค่าเงินบาทผันผวน, เงินเฟ้อสูงมีผลต่อกำลังซื้อ, ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการสิ้นสุดของข้อตกลงที่ให้ยูเครนส่งออกสินค้าผ่านทะเลดำได้ มีทั้งธัญพืช ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวในตลาดโลกสูงขึ้น และมีผลต่อต้นทุนการผลิต รวมถึงการลดการพึ่งพิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author